SharePoint

Skip Navigation LinksNews

  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
Index_Detail
1705
  
26 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.1Yes5/26/20235/26/20245/26/2023 2:52 PM5/26/2023ข่าวแจก 1112566

​พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพส่งผลให้ความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรสูงขึ้นในประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะในกลุ่มชาวจีน โดยผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความหลากหลายและสามารถหาซื้อได้ง่าย จนอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานกระจายสู่ตลาด เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคผ่าน เพจเฟสบุ๊ค "ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค" ว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาทิเช่น ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม ,ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร และยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์ เฮิร์บ บาล์ม ตราสมุนไพรไทยสยาม จากพื้นที่เขตห้วยขวาง และพบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์คนละแบบแต่มีเลขทะเบียนยาเดียวกัน จึงสงสัยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอม หากใช้แล้วเกรงว่าจะได้รับอันตรายต่อร่างกาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่า มีการแอบอ้างนำเลขทะเบียนตำรับยาของผลิตภัณฑ์อื่นมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการปลอมผลิตภัณฑ์ จึงได้สืบสวนจนทราบถึงแหล่งผลิต โกดังเก็บสินค้า และแหล่งจัดจำหน่าย จนนำมาสู่การตรวจค้นในครั้งนี้


ต่อมาในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) นำหมายค้นเข้าทำการตรวจค้น สถานที่ผลิต โกดังเก็บสินค้า และสถานที่จำหน่าย ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ จ.ปทุมธานี จำนวน 4 จุด ดังนี้

1. สถานที่จำหน่ายย่าน ซอยเกษมสุข ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ15 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ขณะตรวจค้น พบนายจิงฉาย (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 36 รายการ รวมกว่า 4,579 ชิ้น

2. สถานที่จำหน่ายย่าน ซ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 6 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พบ นางเบน (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 26 รายการ รวมกว่า 12,807 ชิ้น

3. สถานที่ผลิต และโกดังเก็บสินค้า ภายในโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ หมู่ 3 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบ น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562, เอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย, เครื่องซีลพลาสติก จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องบรรจุ จำนวน 1 เครื่อง, ฉลากผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบในการผลิต เช่น ขี้ผึ้ง สารสกัดต่าง ๆ ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม รวม 14 รายการ จำนวน 64,900 ชิ้น

4. สถานที่ผลิต ในบ้านพักอาศัยย่าน ถนนบางบอน แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดย น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งอยู่ระหว่างการผลิตและบรรจุ รวม 4 รายการ จำนวน 853 ชิ้น และอายัดวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผสมแล้วรอการบรรจุ เครื่องบรรจุและหม้อต้ม รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิต รวม 26 รายการ รวม 8,652 ชิ้น

โดยจากการตรวจค้นทั้ง 4 จุด พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นความผิด รวม 27 ยี่ห้อ ดังนี้

  1. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
  2. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราหาญตำรับ (ปลอม)  
  3. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม)
  4. ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร (ปลอม)
  5. ยาหม่องสมุนไพรไทย ตราเสือสยาม5ดาว (ปลอม)  
  6. ยาหม่องเสือสยาม ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม)
  7. ยาหม่องเสือสยาม ตราหาญตำรับ (ปลอม)
  8. ยาหม่องเสือสยาม PUREสมุนไพรธรรมชาติ (ปลอม)
  9. ยาหม่องสมุนไพร100ปี แซ่วู (ปลอม) 
  10. ยาหม่องสมุนไพร รวม5ดาว สูตรร้อน(ปลอม)
  11. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม)
  12. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)
  13. น้ำมันนวด กฤษณา ทิพย์มาตย์ ไม้หอมไทย
  14. น้ำมันนวด สมุนไพรสยาม ตราหนุมานหาว5ดาว (ปลอม)
  15. น้ำมันนวดผา (ปลอม) 
  16. น้ำมันนวดสมุนไพร Herb
  17. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
  18. น้ำมันนวดสมุนไพร สมุนไพรธรรมชาติ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
  19. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
  20. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราหาญตำรับ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
  21. หัวน้ำมันสมุนไพรสกัดเย็น
  22. น้ำมันสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง
  23. ขี้ผึ้งสมุนไพรรวม ตราเสือ (ปลอม) 
  24. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม)
  25. ยาสอดกระชับช่องคลอด บริสุทธิ์ (ปลอม)
  26. THONG TIGER Massage Palm ยานวดผ่อนคลาย (ปลอม)
  27. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)

รวมตรวจค้น 4 จุด ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม 38 รายการ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 จำนวน 42 รายการ เครื่องจักร รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิตสมุนไพรปลอม และพยานหลักฐานอื่น 32 รายการ รวมทั้งสิ้น 112 รายการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000 บาท

  โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้ดำเนินคดีกับ บริษัทสมุนไพรไทยสยาม จำกัด ในฐานะนิติบุคคล และกรรมการ ทั้ง 3 ราย ในฐานะส่วนตัว ได้แก่ 1. นางสาวพิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล), 2. นายจิงฉาย (สงวนนามสกุล) และ 3. นายจือคาง (สงวนนามสกุล) ในความผิดตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ฐาน "ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม, ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ" โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 รายให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหา

จากการสืบสวนเพิ่มเติมพบว่า เครือข่ายการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอมดังกล่าว มีกลุ่มทุนชาวจีนร่วมลงทุน โดยจ้างให้คนไทยเป็นผู้ผลิตเพื่อขายให้นักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งจะใช้เลขทะเบียนตำรับยาของผลิตภัณฑ์อื่น มาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำปลอมขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคที่ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของแท้ โดยจะผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นให้มีคุณลักษณะตามที่นิยมในท้องตลาด โดยผสมส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์โดยใช้กำลังคน ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน และไม่ผ่านการรับรองจาก อย. จากนั้นส่งสินค้าไปยังร้านค้าที่เจ้าของเป็นคนจีน ในพื้นที่เขตห้วยขวาง และแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจะมีมัคคุเทศก์มารับสินค้าไปหลอกลวงขายให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวจะไม่มีการวางจำหน่ายร้านค้าทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากหน่วยงานราชการ และการตรวจพบจากผู้รับอนุญาตเลขทะเบียนยาที่แท้จริง โดยจะขายส่งราคาชิ้นละ 20-30 บาท และมีการขายทำกำไรต่อในราคา หลักร้อย ถึงหลักพันบาท โดยเริ่มผลิตและจำหน่ายมาแล้วประมาณ 1 ปี

การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562

1. ฐาน "ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม"ตามมาตรา 58(1) ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ฐาน "ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต" ตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ฐาน "ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ" ตามมาตรา 58(4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภก.วีระชัย  นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) 
ที่สืบสวน ขยายผล จนสามารถตรวจยึด ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ผิดกฎหมายได้จำนวนมาก

จากการจับกุมพบผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม ลักลอบผลิต ปลอมโดยใช้เลขทะเบียนตำรับอื่นมาแสดงที่ฉลาก การผลิตไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลในการรักษา อย. และ ปคบ.จะร่วมมือกันขยายผลจับกุมเครือข่ายผู้กระทำผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

จึงขอย้ำเตือนพี่น้องประชาชนว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร ยา เครื่องสำอาง จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนจำหน่าย โดยสามารถดูเลขทะเบียนหรือเครื่องหมาย อย. ได้ที่ฉลากสินค้า ควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน กรณีซื้อออนไลน์ให้ซื้อจาก ร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว สำหรับยาไม่สามารถซื้อขายทางออนไลน์ได้ ต้องซื้อจากร้านยา หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยและจ่ายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนเท่านั้น 

ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย.ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรใช้ความระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ ในการเลือกซื้อ ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ควรตรวจสอบเลขทะเบียนตำรับยาก่อนซื้อ และเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ โดยซื้อจากร้านขายยา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเท่านั้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้และส่งผลโดยตรงกับร่างกาย กระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐานตามหลัก อย. และขอเตือนผู้ที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

 "ผู้ต้องหาหรือจําเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคําพิพากษาถึงที่สุด"

************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 26 พฤษภาคม 2566 ข่าวแจก 111 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


1704
  
26 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.2Yes5/26/20235/26/20245/26/2023 2:52 PM5/26/2023ข่าวแจก 1102566

​     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พบสถานะผลิตภัณฑ์ยกเลิกโดยผู้ประกอบการ ตั้งแต่ 16/2/2564 เมื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตรวจสอบด้วยชุดทดสอบสเตียรอยด์เบื้องต้น พบว่ามีการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ สำหรับสเตียรอยด์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย การใช้สเตียรอยด์อย่างไม่เหมาะสมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น มีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง อาจทำให้กระเพาะทะลุหรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย กระดูกผุ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจเกิดอาการหัวใจล้มเหลวได้ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานที่ผลิตตามเลขสารบบอาหารดังกล่าวตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ทาง อย. จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว หากพบการกระทำผิดจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


ข้อแนะนำ

     ขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อ "ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรโสมผสมกระชายดำ ตราเทพี" ที่ฉลากระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นมารับประทาน หากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถาม หรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

***********************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 26  พฤษภาคม 2566  ข่าวแจก 110  / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1703
  
25 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.3Yes5/25/20235/25/20245/26/2023 2:52 PM5/25/2023ข่าวแจก 1092566

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะจัดให้มีการมอบรางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด  ประจำปี 2566 ให้แก่ผู้ประกอบการผลิต อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย และผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานประกอบการรายอื่น โดยมีรางวัล 2 ประเภท คือ (1) รางวัลผลิตภัณฑ์สุขภาพดีเด่น แบ่งออกเป็น 4 ประเภทรางวัล ได้แก่ 1. ประเภทนวัตกรรม 2. ประเภทส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ 3. ประเภทส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 4. ประเภทสร้างสรรค์  รวม 32 รางวัล (2) รางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน รวม 32 รางวัล นอกจากนี้ ยังมีรางวัล Best of the Best สำหรับสถานประกอบการที่รักษาคุณภาพมาตรฐานเป็นเลิศด้วยดีมาโดยตลอด จำนวน 5 รางวัล และรางวัล 3 ปีติดต่อกันด้วย

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพรายใดสนใจเข้าร่วมการคัดเลือก สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.fda.moph.go.th คลิกที่แบนเนอร์ สมัครรับรางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด 2566 โดยสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ - 9 มิถุนายน 2566 

     

---วันที่เผยแพร่ข่าว 25 พฤษภาคม 2566 ข่าวแจก 109 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

1702
  
24 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.4Yes5/24/20235/24/20245/26/2023 2:53 PM5/24/2023ข่าวแจก 1082566

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ว่ามีผู้บริโภครับประทานขนมเยลลี่ แล้วเกิดอาการผิดปกติจนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นขนมเยลลี่ผสมกัญชา โดยมีสติ๊กเกอร์ปิดทับส่วนประกอบที่ระบุว่ามีกัญชาไว้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบแล้ว เป็นอาหารผลิตจากต่างประเทศ ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย ไม่ได้ขอ อย. จากการตรวจสอบข้อมูลการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย ไม่พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อย. อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน หากพบผู้กระทำผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา จึงขอเตือนพี่น้องประชาชนอย่าซื้อขนมเยลลี่ดังกล่าวมารับประทาน เลือกซื้ออาหารที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง และเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการบริโภคและข้อความคำเตือนที่แสดงบนฉลาก

ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

*******************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว  24 พฤษภาคม  2566  / ข่าวแจก  108  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1701
  
24 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.5Yes5/24/20235/24/20245/26/2023 2:54 PM5/24/2023ข่าวแจก 1072566

​           นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานเปิดการอบรม "โครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนขั้นพื้นฐาน" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี เพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้สามารถปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน

      การเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากและวิสาหกิจชุมชน บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน สร้างทีมประเทศไทย เข้มแข็ง ยั่งยืน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคีเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วประเทศ

******************************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 24 พฤษภาคม 2566 ข่าวแจก 107 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


1700
  
20 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.6Yes5/20/20235/20/20245/26/2023 2:54 PM5/20/2023ข่าวแจก  1062566

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ประธานเปิดการประชุมสัมมนา โดยได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาท อย. ในการส่งเสริมผู้ประกอบการตั้งแต่ช่วงกลางน้ำ ในการพัฒนาระบบให้คำปรึกษาเพื่อการออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรม ซึ่งรับผิดชอบโดย กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาและขยายตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย ซึ่งรับผิดชอบโดยกองความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งนี้มีหัวข้อการอบรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่

  1. Market insight, trends, and opportunities of Malaysia market นำเสนอภาพรวมของตลาด แนวโน้ม ความต้องการ และโอกาสของผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศมาเลเซีย
  2. Food Control Regulations in Malaysia & Food Import Requirement to Malaysia ซึ่งนำเสนอการแนวทางการกำกับดูแล กฎระเบียบ  และข้อกำหนดในการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารไปยังประเทศมาเลเซีย
  3. Cosmetic Registration in Malaysia นำเสนอถึงแนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้า รวมไปถึงขั้นตอนในการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประเทศมาเลเซีย และ
  4. Herbal Product/Extraction Registration in Malaysia นำเสนอข้อกำหนดกฎระเบียบเกณฑ์การแบ่งประเภท และขั้นตอนกระบวนการสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณในประเทศมาเลเซีย

 

 

ในระหว่างการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการมีการซักถามประเด็นข้อสงสัยกับวิทยากรจากหน่วยงานของประเทศมาเลเซีย ซึ่งทำให้ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินการเพื่อเตรียมการสำหรับการส่งออก นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการประชุมจะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาเป็นข้อสรุปแนวทางสำหรับการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพื่อเผยแพร่ผ่านทางส่วนส่งเสริมการส่งออก บนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้กับผู้ประกอบการต่อไป

*******************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว 20 พฤษภาคม 2566 / ข่าวแจก 106 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

 

1699
  
19 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/19/20235/19/20245/26/2023 2:55 PM5/19/2023ข่าวแจก 1052566
1698
  
10 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/10/20235/10/20245/26/2023 9:13 AM5/10/2023ข่าวแจก 1002566

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายในยาแก้ไอ "ไกวเฟนิซิน ทีจี" (Guaifenesin TG syrup) ที่ผลิตจากโรงงานในประเทศอินเดีย โดยตรวจพบการปนเปื้อนสารไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบแล้วไม่พบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว และไม่พบข้อมูลการขายบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย รวมทั้งไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปและวัตถุดิบที่มาจากบริษัท QP Pharmachem Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาด้วย

สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อและได้รับยาที่มีความปลอดภัย ควรซื้อจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต โดยสังเกตป้ายที่แขวนอยู่ในร้านมีข้อความว่าสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายยาแผนโบราณ ซึ่งจะมีเภสัชกรประจำร้านยาให้คำแนะนำ และก่อนใช้ยาควรตรวจสอบภาชนะบรรจุยา โดยต้องมีฉลากและเอกสารกำกับยาครบถ้วน และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ได้ที่ www.fda.moph.go.th หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai  ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line @FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

*******************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว  27  เมษายน  2566 / ข่าวแจก 100  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

 

1697
  
10 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/10/20235/10/20245/25/2023 11:53 AM5/10/2023ข่าวแจก 1042566

​       นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า อย. ส่วนกลางและภูมิภาค รวมทั้งเครือข่ายต่าง ๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคทุกพื้นที่ได้รับความปลอดภัย ทันต่อการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ด้วยกลไก "BETTER" (BCG Model, E-service, Technology for Life, Team Thailand, Empowerment และ Rapid Response) ซึ่งประกอบด้วยแนวทางหลัก เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพไทย การอนุญาตผลิตภัณฑ์ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ได้มาตรฐานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างทีมประเทศไทยด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค รวมทั้งการยกระดับการเฝ้าระวัง การจัดการความเสี่ยง และการเตือนภัยที่ทันเหตุการณ์ เป็นต้น

       ดังนั้น ในวันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2566 อย. จึงได้จัดประชุมโครงการส่งเสริมเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566) ภายใต้กลไก BETTER ดังกล่าว

      การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วประเทศเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สามารถนำบทเรียนของความสำเร็จไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และเกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สู่องค์กรดิจิทัล บรรลุตามเป้าหมาย "ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการก้าวไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน"

*****************************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 10 พฤษภาคม 2566  ข่าวแจก 104 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1696
  
9 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/9/20235/9/20245/24/2023 3:59 PM5/9/2023ข่าวแจก 1032566

​     สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ อย. ได้เข้าตรวจเยี่ยม (1) บริษัท พรทิพย์ (ภูเก็ต) จำกัด แหล่งรวมของฝากสินค้าพื้นเมืองที่มีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาพัฒนาให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ สถานที่ผลิตได้มาตรฐาน และยังมีการผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากผลไม้ไทย (2) บริษัท ภูเก็ตเป๋าฮื้อฟาร์ม จำกัด สถานที่ผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามจากหอยเป๋าฮื้อและสาหร่าย โดยมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล เป็นแหล่งผลิตทั้งสินค้า วัตถุดิบ และบริการรับผลิตอีกด้วย (3) สุโขสปา มีโรงงานผลิตเครื่องสำอางสำหรับใช้ในสปา เช่น น้ำมันนวด และ สครับ รวมทั้งเป็นสถานประกอบการที่จังหวัดส่งเสริมให้เป็น Welless Center ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้ให้คำแนะนำด้านคุณภาพมาตรฐานในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง  รับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในชุมชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานให้เข้าถึงและเกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งความตั้งใจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐในการสร้างสรรค์และผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย และขายได้  จะทำให้บรรลุเป้าหมาย "คนไทยสุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง" ในที่สุด

*******************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 8 พฤษภาคม 2566  / ข่าวแจก  103   ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1695
  
4 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/4/20235/4/20245/24/2023 10:22 AM5/4/2023ข่าวแจก  1022566

อย่างไรก็ตาม สารเคมีในยาย้อมผมอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้ได้ การแพ้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล จึงควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ โดยผสมผลิตภัณฑ์ตามที่ฉลากระบุและทาผลิตภัณฑ์ในปริมาณเล็กน้อยที่บริเวณใต้ท้องแขนหรือหลังใบหู ทิ้งไว้ 24 - 48 ชั่วโมง หากเกิดความผิดปกติ เช่น ผื่นคัน ระคายเคือง ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากนี้จะต้องปฏิบัติตามวิธีใช้และคำเตือนที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขณะใช้หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น แสบร้อน คัน ระคายเคือง ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วรีบไปพบแพทย์

 ผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ข้อมูลต้องตรงกับที่ปรากฏบนฉลาก มีสถานะใบรับจดแจ้งคงอยู่ และก่อนซื้อให้พิจารณาว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีฉลากภาษาไทย ระบุชื่อ ประเภทเครื่องสำอาง แสดงชื่อสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม มีชื่อ-ที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต เดือนปีที่หมดอายุ (สำหรับเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน) คำเตือนและเลขที่ใบรับจดแจ้ง  ควรซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือและมีชื่อ - ที่ตั้งแน่นอน หากใช้แล้วเกิดปัญหาสามารถติดตามย้อนกลับได้

หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

*************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 4 พฤษภาคม 2566  ข่าวแจก 102 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1694
  
3 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/3/20235/3/20245/20/2023 10:22 AM5/3/2023แถลงข่าว 152566

​     พฤติการณ์กล่าวคือ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับแจ้งจาก พญ.ณิชา (สงวนนามสกุล) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ศูนย์โรคผิวหนังโรงพยาบาลกรุงเทพ ว่าพบเพจเฟซบุ๊กชื่อ "โรคผิวหนังในโรงพยาบาล - พญ.ณิชาฯ (https://www.facebook.com/SorionST5/) นำชื่อ-นามสกุลของตน ไปแอบอ้างทำการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายรายการ ตามเพจเฟซบุ๊กอย่างแพร่หลาย โดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจสอบเว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว พบว่ามีการใช้ชื่อแพทย์ตามโรงพยาบาลชื่อดัง 3 ราย โดยมีการตัดต่อรูปภาพแพทย์ รวมถึงแอบอ้างสถานพยาบาลต่าง ๆ มาประกอบการโฆษณา โดยมีการจัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้ปลอมขึ้น เพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อในตัวแพทย์ และอวดอ้างสรรพคุณของสินค้าเกินความจริงว่าสามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้ เช่น ท้าทุกอาการ ทา 5 วัน ไร้คันช่วยปกป้อง, เสริมสร้างการทำงานของตับ, ช่วยในการฟื้นตัวของร่างกาย กำจัดเชื้อโรคจากภายในร่างกายจากเม็ดเลือด และช่วยในการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น โดยมีการขายในลักษณะ Call-Center คือเมื่อมีผู้บริโภคทำการสั่งซื้อ โดยกรอกรายละเอียดของผู้ซื้อพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับผ่านเว็บไซต์ หรือกล่องข้อความทางเพจเฟซบุ๊ก จะมีการติดต่อกลับซึ่งเป็นข้อความในรูปแบบข้อความอัตโนมัติ เพื่อบรรยายสรรพคุณเกินจริง โน้มน้าวให้ผู้ซื้อหลงเชื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งหลังจากที่ผู้บริโภคได้ใช้สินค้า แล้วพบว่าไม่ได้ผลตามโฆษณา ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะปล่อยผ่านไปไม่มาแจ้งความร้องทุกข์ จึงเป็นการเอาเปรียบหลอกลวงผู้บริโภคที่คาดหวังผลการรักษา ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงทำให้เสียโอกาสทางการรักษาโรคที่ถูกต้อง เมื่อทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ Sorion Forte Plus และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Sorion HERBAL SKIN CREAM ที่เว็บไซต์ดังกล่าว พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่แสดงฉลากภาษาไทย, ไม่มีการแสดงเลขสารบบอาหาร และเครื่องสำอางไม่มีการแสดงเลขจดแจ้ง จึงทำการสืบสวนจนทราบถึงสถานที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และกลุ่มเครือข่ายผู้กระทำผิด พบว่ากลุ่มดังกล่าวนายทุนชาวเวียดนามมีส่วนเกี่ยวข้องในการเปิดเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ที่ใช้โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยี่ห้อ Sorion เป็นจำนวนมาก รวม 27 เพจ เพื่อกระจายการโฆษณาหากถูกปิดกั้นเพจ โดยมีการโฆษณาขายสินค้าและรับออเดอร์สินค้าอยู่ที่ประเทศเวียดนาม และทำการส่งข้อมูลการจัดส่งสินค้าให้กับพนักงานในประเทศไทย ทำการบรรจุและจัดส่ง โดยมีผู้สั่งการในประเทศไทยเป็นชาวเวียดนามทำหน้าที่ดูแล สั่งการอีกทางหนึ่ง

     ต่อมา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำหมายศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ ค.297/2566 เข้าทำการตรวจค้นสถานที่เก็บและบรรจุสินค้าในพื้นที่ ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พบนายเสน่ห์ (สงวนนามสกุล) ซึ่งรับว่าตนมีหน้าที่ผิดฉลาก-บรรจุ และจัดส่งสินค้า แสดงตนเป็นพนักงานของสถานที่ดังกล่าว เป็นผู้นำตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ Sorion Forte Plus, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Sorion HERBAL SKIN CREAM, ผลิตภัณฑ์เสริมอารลดน้ำหนักยี่ห้อ lishou  และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522, พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558, พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 จำนวน 13 รายการ

     จากนั้นได้ทำการสืบสวนขยาบผลทราบว่ามีสถานที่เก็บ, บรรจุ และจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายอีกแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ซ.๓๗ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว พบ นายชัยพร (สงวนนามสกุล) แสดงตนเป็นพนักงานของสถานที่ดังกล่าว มีหน้าที่บรรจุ และจัดส่งสินค้า เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ Sorion Forte Plus, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Sorion HERBAL SKIN CREAM, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักยี่ห้อ lishou และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522, พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558, พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 จำนวน 14 รายการ

     สอบถาม นายชัยพรฯ พนักงานของสถานที่ดังกล่าว แจ้งว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นของ น.ส.แก้ว หรือ MISS TIEU NY (สงวนนามสกุล) สัญชาติเวียดนาม ซึ่งทำหน้าที่ดูแลผลิตภัณฑ์และสั่งการอยู่ที่ประเทศไทย จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจยึดผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

     พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้รวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอนุมัติหมายจับ Miss TIEU NY (สงวนนามสกุล) นายจ้างชาวเวียดนาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ในเวลาต่อมา โดยได้แจ้งข้อกล่าวหา Miss TIEU NY และ น.ส.สุวิมล (สงวนนามสกุล) ในความผิดฐาน "ร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา, ร่วมกันขายเครื่องสำอางที่มีฉลากไม่ถูกต้อง, ร่วมกันขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง และร่วมกันจำหน่ายอาหารโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้องโดยไม่แสดงฉลากเป็นภาษาไทย" ตรวจยึดของกลาง จำนวน 27 รายการ มูลค่าความเสียหาย 61,354,000 บาท โดย น.ส.สุวิมลฯ รับว่าตนเป็นเจ้าของสถานที่ ทำหน้าที่ดูแลและแพ็คสินค้าตามออเดอร์ของ นายจ้างชาวเวียดนาม ชื่อ น.ส.แก้วฯ หรือ Miss TIEU NY โดยรับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท และทำมาแล้วประมาณ 1 ปี

     การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม

     1. พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ฐาน "ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต" ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท

     2. พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72 (4) ฐาน "ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา" จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     3. พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (10) ฐาน "จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง" ระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท

     4. พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มาตรา 32(4) ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย" ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 32(1) ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง" ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

      5. กรณีการนำเข้าข้อมูลเท็จและโฆษณาสินค้าดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ฐาน "นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ" ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และ ข้อหา "โฆษณาเครื่องสำอางเป็นเท็จ" ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ที่สืบสวนจนสามารถจับกุมผู้ค้าตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้จำนวนมาก  ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบในครั้งนี้เป็น ยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ไม่มีฉลากภาษาไทย ลักลอบนำเข้า และพบการโฆษณาหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ไม่มีหลักฐาน หรือผลการทดสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน จึงขอเตือนผู้บริโภคว่า ไม่มีอาหารหรือเครื่องสำอางที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้ ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ โฆษณาเกินจริง ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย.ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

     พล.ต.ต.อนันต์  นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าขอให้ระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อออนไลน์ที่โฆษณาหลอกลวงเกินจริง เช่น ลดน้ำหนักภายใน 7 วัน, รักษาเบาหวาน, รักษาเชื้อรา, รักษาหลอดเลือด, รักษาต่อมลูกหมาก, อายุยืนทำความสะอาดหลอดเลือด, ถ่ายพยาธิ, เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ, เรียกความจำคืน, เพิ่มขนาดหน้าอก, แก้ปัญหาการได้ยิน, ลดริ้วรอยย้อนอายุไป 30 ปี เป็นต้น และหากผู้บริโภคหลงเชื่อสั่งซื้อสินค้ามาใช้ อาจทำให้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ และทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทาง บางรายอาจส่งผลต่อสุขภาพ และขอเตือนไปยังผู้คิดจะกระทำความผิดหลอกลวงคนอื่นด้วยวิธีการเอาความเจ็บป่วย, สรรพคุณการรักษา หรือชื่อเสียงของแพทย์และสถานพยาบาลต่าง ๆ มาหลอกลวงขายสินค้าให้กับผู้บริโภค หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

วันที่เผยแพร่ข่าว  3 พฤษภาคม 2566 แถลงข่าวที่ 15 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1693
  
2 พฤษภาคม 2566ข่าว อย.nullYes5/2/20235/2/20245/19/2023 7:57 PM5/2/2023ข่าวแจก 1012566

​     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหาร ณ เลขที่ 7/127 ซอย 11 หมู่บ้านไลโอ ถนนสวัสดิการ 3 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ "กาแฟสำเร็จรูปผสมชนิดผง ตราโกแม็กซ์คอฟฟี่ เลขสารบบอาหาร 12-2-04661-2-0023 ผลิตโดย บริษัท พี วาย อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 79/6-7 หมู่ 4 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 จัดจำหน่ายโดย บริษัท กู๊ดดีลไนซ์ จำกัด 1201/114 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 วันผลิต MFG 230922 ควรบริโภค EXP 230924" ผลการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการ พบยาแผนปัจจุบันซิลเดนาฟิล (Sildenafil) จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 35 ยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จึงเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และ อย. อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

 

ข้อแนะนำ

     ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังอย่าซื้อ "ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปผสมชนิดผง ตราโกแม็กซ์คอฟฟี่" ที่ฉลากระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นมารับประทาน หากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถาม หรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

=================================

วันที่เผยแพร่ข่าว 2 พฤษภาคม 2566 ข่าวแจก 101 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1692
  
27 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/27/20234/27/20245/19/2023 7:57 PM4/27/2023ข่าวแจก 992566

​     พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "ตรา มายา อาร์เอ็ม (DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT (MAYA RM BRAND))" เลข อย. 70-1-27160-5-0181 ขายทางเฟซบุ๊กชื่อ "มายาอาร์เอ็ม สมุนไพรลดน้ำหนัก" ระบุสรรพคุณ "...MAYA เร่งเผาผลาญ วันละเม็ด เอว S มาชัวร์...หุ่นสวยแบบไม่ต้องอด ด้วย MAYA Rm ...ตัวช่วยฟื้นฟู การเผาผลาญให้ดีขึ้น เผาผลาญ x2 หุ่นสวย สุขภาพดี ไม่มีเอฟเฟค..."

     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตกับ อย. ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พบสถานะผลิตภัณฑ์ ยกเลิกโดยผู้ประกอบการ 10/1/2566 จึงขอเตือนผู้บริโภค ระมัดระวังการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาบริโภค

ข้อแนะนำ

     ขอแนะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ www.fda.moph.go.th หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai และควรพิจารณาเนื้อหาการโฆษณาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
ซึ่งผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ ได้รับอนุญาตหรือไม่ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ อย. หมวดบริการประชาชน ในหัวข้อสืบค้นใบอนุญาตโฆษณา กรณีมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

***********************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 27  เมษายน 2566  ข่าวแจก 99  / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1691
  
28 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/26/20234/26/20245/10/2023 9:29 AM4/26/2023ข่าวแจก 982566

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า วันนี้ (26 เมษายน 2566) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้หลักเกณฑ์การขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านอาหาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งได้เผยแพร่คู่มือการอนุญาตสถานที่และผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถศึกษาด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้ความเข้าใจในการขออนุญาตสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ และฉลากอาหาร รวมทั้งมีกิจกรรมฝึกปฏิบัติ workshop ให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปใช้ในขั้นตอนการผลิต และจัดทำฉลากได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อยกระดับสถานประกอบการให้สามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสร้างโอกาสในการแข่งขันทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ ต่อยอดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่จะเกิดขึ้น

การเสริมทักษะครั้งนี้ จะช่วยให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
ขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นให้คนไทยสุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง : Health for Wealth สู่เป้าหมาย ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรงต่อไป

******************************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 26 เมษายน  2566  ข่าวแจก 98 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1690
  
25 เมษายน 2566บทแถลงข่าวnullYes4/25/20234/25/20245/9/2023 2:12 PM4/25/2023แถลงข่าว 142566

​     สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคว่า มีเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ "หมอเถียรแพทย์แผนจีน" มีการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีนทั้งชนิดแคปซูลและน้ำสมุนไพรจีน ในลักษณะกล่าวถึงสรรพคุณการรักษาที่เกินจริง โดยมีการกล่างอ้างว่า ยาสมุนไพรขนานเดียวสามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้ครอบจักรวาล เช่น สามารถปรับสมดุลร่างกาย รักษาเรื่องการนอนไม่หลับ คอแห้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตาแห้ง เวียนหัว ไมเกรน กรดไหลย้อน ขับถ่ายไม่ดี ชาปลายมือปลายเท้า ออฟฟิตซินโดรม ปวดหลัง ปวดคอ บำรุงตับและสรรพคุณอีกหลายประการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว พบว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในเพจเฟซบุ๊กนั้น ไม่มีการขออนุญาตในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนจนกระทั่งทราบว่ามีแหล่งจำหน่าย และผลิตสมุนไพรอยู่ที่พื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

     ต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นของศาลจังหวัดพระโขนง เข้าตรวจค้นอาคารแห่งหนึ่งในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดแคปซูล จำนวน 1,000 กระปุก (60,000 แคปซูล), ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีนชนิดน้ำบรรจุถุง รอการจำหน่าย กว่า 700 ถุง, อุปกรณ์การผลิตยาสมุนไพร, หม้อต้มน้ำสมุนไพรอัตโนมัติ 12 เครื่อง, เครื่องบรรจุยาชนิดแคปซูล จำนวน 1 เครื่อง และพยานหลักฐานอื่น ๆ จึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ดำเนินคดี

     จากการตรวจสอบพบว่า สถานที่ดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีนโดยไม่มีการขออนุญาตในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุ ไม่ได้มีการขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้บริโภคจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่า มีส่วนผสมอะไรในนั้นบ้าง จึงมีการอ้างถึงสรรพคุณในลักษณะสมุนไพรขนานเดียวรักษาโรคครอบจักรวาลเช่นนี้ พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ได้แจ้งข้อกล่าวหา นาย จวิ้น เฉียง สงวนนามสกุล อายุ 45 ปี ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสมุนไพรดังกล่าว ฐาน "ผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต" โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหาว่า ตนจบแพทย์แผนจีนมาจากประเทศจีน จากนั้นได้ขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ แพทย์แผนจีน (ใช้ชื่อว่าหมอเถียร) เนื่องจากมีความรู้เรื่องสมุนไพรจีน จึงได้ทำการผลิตสมุนไพรบรรจุด้วยตนเอง โดยไม่ได้ขออนุญาตผลิตและขายแต่อย่างใด และเปิดจำหน่ายมาแล้วมากว่า 1 ปี

 

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม

  1. พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

            - ฐาน "ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต"ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน

สามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ   

            - ฐาน "ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต" ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

            ภก.ฉัตรชัย พานิชศุภภรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร  กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการบำบัด บรรเทารักษา ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรค อย. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรใดได้รับอนุญาตแล้ว จากเลขที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ หรือเลขที่แจ้งรายละเอียด หรือเลขที่รับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่วนการขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น ผู้ขายต้องมีใบอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยกเว้นการขาย "ผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป" ที่ผู้ขายไม่ต้องมีใบอนุญาตขาย ซึ่งสังเกตได้จากบนฉลากผลิตภัณฑ์ ระบุคำว่า "ผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป" เป็นตัวอักษรอยู่ในกรอบสีเขียว จึงขอฝากพี่น้องประชาชน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับอนุญาต และซื้อจากผู้ขายที่มีหลักแหล่งชัดเจน กรณีสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จาก www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai   และหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

          พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยามารับประทานเพื่อรักษาโรค ควรเลือกซื้อจากร้านขายยา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับอนุญาต เนื่องจากเป็นสิ่งที่ร่างกายรับประทานและส่งผลโดยตรงกับร่างกาย กระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ และขอเตือนผู้ที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะขยายผลและกวาดล้างต่อไป หากตรวจพบจะดำเนินคดีถึงที่สุด เพราะท่านกำลังทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย เกิดผลกระทบกับร่างกายและเสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค

"ผู้ต้องหาหรือจําเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคําพิพากษาถึงที่สุด"

************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว     25 เมษายน 2566     แถลงข่าว 14 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1689
  
25 เมษายน 2566บทแถลงข่าวnullYes4/25/20234/25/20245/4/2023 10:57 AM4/25/2023แถลงข่าว 132566

     พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบัน กระแสผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลดน้ำหนักเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภค และเข้าถึงได้ง่ายอีกทั้งมีความหลากหลาย และอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตลักลอบผสมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) ไปในผลิตภัณฑ์ เมื่อรับประทานแล้ว อาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในกรณีผู้มีโรคประจำตัวอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. พบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน ยี่ห้อ เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) ผ่านแฟลตฟอร์ม Shopee, Lazada, TikTok และ Facebook เป็นจำนวนมาก โดยมีการโฆษณาชวนเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้ว ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ และมีเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ จึงได้สืบสวนจนทราบแหล่งผลิต แหล่งจัดจำหน่าย และตัวแทนรายใหญ่ พร้อมรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอนุมัติหมายจับกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในข้อหา "จำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า"  

     ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน  2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ร่วมกันนำหมายค้น เข้าทำการตรวจค้น สถานที่ผลิต ผู้จัดจำหน่าย(เจ้าของผลิตภัณฑ์) และเครือข่ายตัวแทนผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ในพื้นที่ จ.ตาก, จ.สุโขทัย และพิษณุโลก จำนวน 4 จุด มีรายละเอียดดังนี้

     1. บริษัท อินทารา เฮิร์บ จำกัด เลขที่ 652 หมู่ 2 ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก สถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) ซึ่งตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นพบไซบูทรามีนผสมอยู่ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) ตลอดจนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้ออื่น ๆ รวม 7 รายการ จำนวน 6,850 กล่อง พร้อมตรวจยึดอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่ายหลายรายการ

     2. บริษัท นิวควีน เนเจอร์ ฟูด จำกัด เลขที่ 958 หมู่ 3 ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ผู้จัดจำหน่ายขณะตรวจค้นพบ น.ส.ชนนิกา (สงวนนามสกุล) เจ้าของแบรนด์ เป็นผู้นำตรวจค้นและรับว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross)  ตนเป็นเจ้าของแบรนด์ และได้สั่งผลิตจาก บริษัท อินทารา เฮิร์บ จำกัด จริง  ตรวจค้นพบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่ายหลายรายการ

     3. ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ต.นาทุ่ง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้ออื่น ๆ รวม 3 รายการ โดยพบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่ายหลายรายการ พร้อมจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ 2 ราย ได้แก่ 1. นางนุชจรีย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี ซึ่งเป็นแม่ทีมรายใหญ่และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ใน TikTok ที่มียอดผู้ติดตามหลักแสนคน และ 2. นายภิรมย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 40 ปี แฟนหนุ่มซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย และเปิดบัญชีสำหรับซื้อขายสินค้า

     4. ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) รายใหญ่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก พบ น.ส.สุทธาทิพย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ซึ่งเป็นตัวแทนรายใหญ่และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ใน TikTok เป็นผู้นำตรวจค้น พร้อมตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้ออื่น ๆ รวม 7 รายการ ค้นพบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่ายหลายรายการ

     เบื้องต้นพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้แจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาทั้งหมด 3 ราย ได้แก่
     1. นางนุชจรีย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี และ 2. นายภิรมย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 40 ปี และ 3. น.ส.สุทธาทิพย์ (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ในความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ฐาน "จำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า" โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย รับว่าขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) จริง โดยรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็นคิว เอส ครอส (NQ S Cross) มาจำหน่ายโดยสั่งซื้อโดยตรงจากเจ้าของแบรนด์ ชื่อแจง หรือ จุ๊บแจง อยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จากนั้นมากระจายจำหน่ายให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

     โดยจากการสืบสวนขยายผลทราบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว เริ่มจากการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลดน้ำหนัก ตระกูลนิวควีน โดยในช่วงแรกสินค้าขายไม่ดี จึงเริ่มมีการผสมสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่พฤศจิกายน 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสืบสวนขยายผลถึงแหล่งที่มาของสารไซบูทรามีนต่อไป

     สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้ออื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึด จะได้ส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หากตรวจพบสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม

     การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม

     1. ประมวลกฎหมายยาเสพติด ฐาน "ผลิตซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 โดยกระทำเพื่อการค้า" ฐาน "จำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 โดยกระทำเพื่อการค้า" โทษตามมาตรา 149 วรรคสอง (1) ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท  

     2. กรณีพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบัน หรือมีการผสมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ จะเป็นความผิด ฐาน "ผลิต/ จำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์" ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) โทษตามมาตรา 58 ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ภญ.อรัญญา เทพพิทักษ์  ผอ.ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ  กล่าวว่าปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)  ที่สืบสวนขยายผลจนสามารถจับกุมผู้ค้าตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้จำนวนมาก 

     โดยการปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ได้เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มที่อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักเป็นกรณีพิเศษ โดยร่วมกับตำรวจ บก. ปคบ. สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดจนมีการจับกุมดำเนินคดีผู้ผลิต ผู้จำหน่ายที่กระทำผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และแจ้งข่าวเตือนประชาชนให้ทราบข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อมิให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น ทานแล้วลดน้ำหนักเห็นผลไว เห็นผลจริง ปลอดภัย การันตี ไม่มีผลข้างเคียง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างใช้ลดน้ำหนักเหล่านี้ มักพบว่ามีส่วนผสมของไซบูทรามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือกลุ่มยาแผนปัจจุบันที่ช่วยลดความอยากอาหาร  ซึ่งผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสีย เพราะนอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียสุขภาพจากผลข้างเคียงของยาและอาจทำให้เสียชีวิตได้ จึงขอย้ำว่า อย่าซื้อยาทางสื่อออนไลน์มารับประทานเองโดยเด็ดขาด

     ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

     พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ การเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ควบคุมน้ำหนักควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น อาหารเสริม อาจมีผู้ประกอบการที่ลักลอบใส่สารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภคว่าสามารถช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ผู้บริโภคไปหลงเชื่อโฆษณาหลอกลวงซื้อมารับประทาน แล้วได้รับผลข้างเคียงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะสุขภาพที่ดีต้องประกอบด้วยการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และขอเน้นย้ำว่าไซบูทรามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ผู้ที่ลักลอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

"ผู้ต้องหาหรือจําเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคําพิพากษาถึงที่สุด"

************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 25 เมษายน 2566 แถลงข่าว 13 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1688
  
22 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/22/20234/22/20245/3/2023 3:05 PM4/22/2023ข่าวแจก  972566

ฝ่ายปราบปราม และขายให้เฉพาะกลุ่มผู้เสพยาเสพติด ในราคาที่แพงกว่าสินค้าทั่วไป โดยขายราคา

1,200-1,500 บาท/ซอง จากการตรวจสอบจนถึงขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่พบการปนเปื้อน ยาเสพติดในเครื่องดื่มเกลือแร่ คอลลาเจน และกาแฟ ที่จำหน่ายโดยทั่วไป จึงขอให้พี่น้องประชาชนโปรดวางใจ ท่านสามารถบริโภคเครื่องดื่มทั้ง 3 ประเภท ที่ขอ อย. ถูกต้อง และมีเลขสารบบอาหาร ได้ตามปกติ ไม่ต้องหวั่นเกรงว่าจะบริโภคยาเสพติดโดยไม่รู้ตัว

หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line: @FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

****************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 22 เมษายน 2566 /  ข่าวแจก 97  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

 

 

 

1687
  
13 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/13/20234/13/20245/2/2023 2:45 PM4/13/2023ข่าวแจก 962566

​     ค่า PA แสดงความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเอ (ยิ่ง + มากยิ่งป้องกันได้ดี) ในขณะที่ค่า SPF จะแสดงความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสียูวีบี (ยิ่งมากยิ่งป้องกันได้ดี โดยค่า SPF สูงกว่า 50 ในฉลากจะแสดงเป็น SPF 50+) ผู้บริโภคควรเลือกซื้อครีมกันแดดให้เหมาะสมกับกิจกรรมและช่วงเวลาที่อยู่กลางแจ้ง กรณีที่มีกิจกรรมทางน้ำหรือกิจกรรมที่ต้องโดนน้ำ ให้เลือกครีมกันแดดที่กันน้ำ โดยดูจากคำว่า Water Resistant นอกจากนี้ควรใช้ครีมกันแดดให้ถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลากอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์รูปแบบสเปรย์ควรใช้ฉีดพ่นบริเวณลำตัวเท่านั้น ไม่ควรฉีดพ่นบริเวณใบหน้าและระวังอย่าใช้ใกล้เปลวไฟ  หากใช้ครีมกันแดดแล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

     รองเลขาธิการฯ แนะเพิ่มเติมว่า ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงนี้ ควรระวังการเกิดฮีทสโตรกซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงควรสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตัวร้อน ไม่มีเหงื่อ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40.5°C กระวนกระวาย เพ้อ สับสน ชัก ซึมลงหรือหมดสติ ควรรีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทดี ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก เพื่อให้ร่างกายได้ระบายความร้อน นำผ้าเปียกวางตามร่างกาย เช็ดตามข้อพับต่างๆ เพื่อทำให้อุณหภูมิเย็นลงและรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

*******************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 13 เมษายน 2566 ข่าวแจก 96 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1686
  
10 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/10/20234/10/20244/27/2023 9:46 AM4/10/2023ข่าวแจก 952566

​     นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในช่วงฤดูร้อน ประชาชนมีการบริโภคน้ำดื่ม และน้ำแข็งเป็นจำนวนมาก  โอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์มีมากขึ้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อน้ำดื่ม หรือน้ำแข็ง ที่บรรจุในภาชนะบรรจุที่สะอาดและปิดสนิท มีการแสดงฉลากภาษาไทย ระบุรายละเอียดของชื่ออาหาร เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิเป็นกรัมหรือกิโลกรัม วัน เดือน และปีที่ผลิต หรือ ควรบริโภคก่อน เป็นต้น โดยเฉพาะฉลากของผลิตภัณฑ์น้ำแข็งต้องมีข้อความว่า "น้ำแข็งใช้รับประทานได้" ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน สำหรับการเลือกซื้อน้ำแข็งบดหรือน้ำแข็งหลอดที่ตักแบ่งหรือกดจากตู้จำหน่าย หรือเสิร์ฟตามร้านอาหาร ที่ไม่มีฉลากนั้น ผู้บริโภคควรหมั่นสังเกตลักษณะของน้ำแข็งที่จะบริโภคต้องใสสะอาด ไม่มีคราบ สี หรือกลิ่นที่ผิดปกติ ไม่มีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมในก้อนน้ำแข็ง โดยเลือกซื้อจากแหล่งผลิต และแหล่งจำหน่ายที่ถูกสุขลักษณะ

     รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หาก อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจะดำเนินการตามกฎหมาย โดยจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

*******************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว   10   เมษายน 2566 ข่าวแจก 95 / ปีงบประมาณ พ.. 2566

1685
  
7 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/7/20234/7/20244/26/2023 3:18 PM4/7/2023ข่าวแจก 942566

​     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ณ ด่านอาหารและยาลาดกระบัง นำเข้าโดยบริษัท เจเอฟซี (ไทยแลนด์) จำกัด ส่งตรวจวิเคราะห์โดยมีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ "ผลิตภัณฑ์โนริ (สาหร่ายทะเลย่าง)" ผลิตโดยบริษัท ยามาโทคุ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เลขสารบบอาหาร 10-3-07157-5-0780 ไม่ระบุรุ่นการผลิต วันผลิต 2022.11.3 วันหมดอายุ 2023.5.2 ขนาดบรรจุ 250 กรัม ผลการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการ จากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบแคดเมียม 3.81 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์และอาหารผิดมาตรฐานตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และ อย. อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด

ข้อแนะนำ

     ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังอย่าซื้อ "ผลิตภัณฑ์โนริ (สาหร่ายทะเลย่าง)" ที่ฉลากระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นมารับประทาน หากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถาม หรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

=================================

วันที่เผยแพร่ข่าว 7 เมษายน 2566 ข่าวแจก 94 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1684
  
5 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/5/20234/5/20244/25/2023 1:55 PM4/5/2023ข่าวแจก 932566

​     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เก็บตัวอย่างอาหารจากสถานที่ผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ชื่อ ก๋วยเตี๋ยวเลอรส เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ส่งตรวจวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุถุงพลาสติกสีแดงฉลากระบุ "เลอรส เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ก๋วยเตี๋ยวเรือกึ่งสำเร็จรูปเส้นเล็ก เลขสารบบอาหาร 12-2-01765-6-0002 MFD.01.02.23 EXP.01.05.23 ผลิตโดย : ก๋วยเตี๋ยวเลอรส เลขที่ 9/10 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จัดจำหน่ายโดย : บริษัท เลอรส อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด เลขที่ 408/6 หมู่ 7 ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" เครื่องปรุงที่บรรจุในซองก๋วยเตี๋ยว รายงานผลการตรวจวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค Bacillus cereus เท่ากับ 6,600 CFU/กรัม ไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้ตรวจพบ Bacillus cereus ในเครื่องปรุงที่บรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุ ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ได้ไม่เกิน 1,000 CFU/กรัม จึงจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน

ข้อแนะนำ

  ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ "เลอรส เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนก๋วยเตี๋ยวเรือกึ่งสำเร็จรูปเส้นเล็ก" ที่ฉลากระบุรายละเอียดข้างต้นมารับประทาน ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

=================================

วันที่เผยแพร่ข่าว  5  เมษายน  2566  ข่าวแจก  93  / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1683
  
5 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/5/20234/5/20244/25/2023 1:55 PM4/5/2023ข่าวแจก 922566

​     นายแพทย์ไพศาล  ดั่นคุ้ม  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีรายงานผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อและเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้มีการจัดตั้งทีมตระหนักรู้สถานการณ์ภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Situation Awareness Team: SAT) และทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (Rapid Response Team: RRT) เพื่อดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสถานการณ์ และประเมินความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และเพื่อจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ทั้งด้านการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล และการเฝ้าระวังในระดับต่าง ๆ โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายในระดับภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

     ดังนั้น การประชุมการขับเคลื่อนงานตระหนักรู้สถานการณ์ภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย โดยอาศัยทีมที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติงานของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ได้เหมาะสม ทันเวลา ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน

*******************************************

 วันที่เผยแพร่ข่าว 5  เมษายน 2566 / ข่าวแจก  92  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1682
  
4 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/4/20234/4/20244/22/2023 8:46 AM4/4/2023ข่าวแจก 912566

ข้อแนะนำ

     ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังอย่าซื้อ "ผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกล้วยต้มหั่นแช่แข็ง" ที่ฉลากระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นมารับประทาน หากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

=================================

วันที่เผยแพร่ข่าว 4 เมษายน 2566 ข่าวแจก 91 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1681
  
3 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/3/20234/3/20244/13/2023 9:21 AM4/3/2023ข่าวแจก 902566

1. ซีดบี วอเตอร์ คัลเลอร์ริ่ง มีเดียม บราวน์ (SEEDBEE WATER COLORING MEDIUM BROWN) เลขที่ใบรับจดแจ้ง 10-2-6500007929 

ผู้ผลิต SOKY C&T CO., LTD. (ประเทศเกาหลีใต้) ผู้แทนจำหน่าย บริษัท มาลาคี จำกัด 55 อาคารเอ.เอ.แคปปิตอล รัชดา ชั้น 4  ถนน รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขตดินแดง กทม เลขที่ผลิตและครั้งที่ผลิต ANU22เดือนปีที่ผลิต ไม่ระบุ เดือนปีที่หมดอายุ 20250113

2. ซีดบี วอเตอร์ คัลเลอร์ริ่ง ไวน์ บราวน์ (SEEDBEE WATER  COLORING WINE BROWN) เลขที่ใบรับจดแจ้ง 10-2-6500007928 

ผู้ผลิต SOKY C&T CO., LTD. (ประเทศเกาหลีใต้) ผู้แทนจำหน่าย

บริษัท มาลาคี จำกัด 55 อาคารเอ.เอ.แคปปิตอล รัชดา ชั้น 4 ถนน รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขตดินแดง กทม เลขที่ผลิตและครั้งที่ผลิต JOX21เดือนปีที่ผลิต ไม่ระบุ เดือนปีที่หมดอายุ 20241026

3. แอล โปรเฟสชั่นนอล บลอนดี้ แอน ทรีทเมนต์ คัลเลอร์ ครีม เก้าเอ็นวาย (เนฟวี่) (MIELLE PROFESSIONAL BLONDIE ANNE TREATMENT COLOR CREAM 9NY (NAVY)) เลขที่ใบรับจดแจ้ง 10-2-6300034730 ผู้ผลิต JPS COSMETICS CO.,LTD. ประเทศ Korea

ผู้นำเข้า บริษัท ไดเมนชั่นแฮร์ จำกัด 318/99 ซอยนวมินทร์ 70 แยก 4

แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ลขที่ผลิตและครั้งที่ผลิต ไม่ระบุ เดือนปีที่ผลิต ไม่ระบุ เดือนปีที่หมดอายุ 2024 11 02

  สารห้ามใช้ที่ตรวจพบ ได้แก่ o-Aminophenol และ m-Phenylenediamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

ข้อแนะนำ

         1. ขอให้ประชาชนเลือกซื้อเครื่องสำอางด้วยความระมัดระวัง ซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน ฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อทางการค้า ประเภทเครื่องสำอาง ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตหรือปีเดือนที่ผลิต คำเตือน (ถ้ามี) และเลขที่ใบรับจดแจ้ง สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย จะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน

     2. หากสงสัยว่าเป็นเครื่องสำอางเคยถูกประกาศผลวิเคราะห์ว่าพบสารห้ามใช้ สามารถสืบค้นในเว็บไซต์ กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง หัวข้อ เครื่องสำอางอันตราย ซึ่งจะแสดงชื่อผลิตภัณฑ์ พร้อมภาพผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน และกรณีที่พบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

=================================

วันที่เผยแพร่ข่าว  3  เมษายน  2566  ข่าวแจก  90  / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



1680
  
2 เมษายน 2566ข่าว อย.nullYes4/2/20234/2/20244/10/2023 8:57 AM4/2/2023ข่าวแจก 892566

​     น้ำยาซักผ้าขาวและน้ำยาล้างห้องน้ำ จัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข สารเคมีในน้ำยาซักผ้าขาว เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติฟอกขาวและฆ่าเชื้อโรค เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ส่วนสารเคมีที่อยู่ในน้ำยาล้างห้องน้ำ ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เช่น กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก เมื่อนำผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไฮโดรคลอริกและโซเดียมไฮโปคลอไรต์มาผสมกันหรือใช้ร่วมกัน จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนเป็น "ก๊าซคลอรีน" มีกลิ่นฉุน มีความเป็นพิษสูง หากสูดดมจะระคายเคืองทางเดินหายใจ อาจเกิดอาการไอ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย บางรายที่อาการรุนแรง อาจมีภาวะน้ำท่วมปอด ขาดออกซิเจน ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและมีภาวะเลือดเป็นกรด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

     ที่ผ่านมาพบว่าเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้กับผู้ใช้หลายราย เนื่องจากเชื่อคำแนะนำทางสื่อออนไลน์   ที่เป็นข่าวปลอม (แนะนำให้ใช้น้ำยาซักผ้าขาวร่วมกับน้ำยาล้างห้องน้ำ) อย. จึงขอเตือนผู้บริโภค อย่าเชื่อ หยุดแชร์ข่าวปลอมดังกล่าว ห้ามนำน้ำยาซักผ้าขาวและน้ำยาล้างห้องน้ำมาผสมกัน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน โดยก่อนใช้ต้องอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้ คำแนะนำ คำเตือนอย่างเคร่งครัด ขณะใช้น้ำยาล้างห้องน้ำควรสวมถุงมือยางหรือรองเท้ายาง และภายหลังการใช้ต้องล้างถุงมือยาง รองเท้ายางและมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ควรเลือกใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีเลขทะเบียนวัตถุอันตราย โดยสังเกตเครื่องหมาย อย. วอส. โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. ได้ที่ เว็บไซต์ fda.moph.go.th หัวข้อ "ตรวจสอบผลิตภัณฑ์" หากพบผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในที่สุด

 

***********************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 2 เมษายน 2566 ข่าวแจก 89 / ปีงบประมาณ พ.. 2566

1679
  
29 มีนาคม 2566ข่าว อย.nullYes3/29/20233/29/20244/7/2023 10:00 AM3/29/2023ข่าวแจก 872566

​     นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล  รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า มีเด็กรับประทานคุกกี้ช็อกโกแลตที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่าย แล้วมีอาการเจ็บป่วยหนักที่โรงพยาบาล แถวภาคใต้ นั้น  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบภาพผลิตภัณฑ์ตามข่าวดังกล่าว พบข้อมูลระบุ "Twix Chocolate sand THC 600 MG PER BAG PER 2 COOKIES" ซึ่งไม่พบข้อมูลการได้รับอนุญาตผลิตภัณฑ์ และ อย. ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสืบหาข้อเท็จจริงไม่พบการนำเข้า ณ ด่านอาหารและยา แต่อย่างใด นอกจากนี้จากการตรวจสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางร้านค้าตลาดออนไลน์ไม่พบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าเป็นการลักลอบนำเข้า

     ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายจัดเป็นอาหารที่ต้องได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหาร ซึ่งต้องผ่านการประเมินความปลอดภัย โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (THC ต้องไม่เกิน 1.6 มิลลิกรัมต่อขวด/กล่อง/ซอง) และเข้มงวดในการพิจารณาสูตรส่วนประกอบ รวมทั้งผลตรวจพิสูจน์ปริมาณ THC  กำหนดให้ฉลากผลิตภัณฑ์แสดงข้อแนะนำการบริโภคเพื่อความปลอดภัย เช่น" ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 2 หน่วยบรรจุ (ขวด/กล่อง/ซอง)" และแสดงข้อความคำเตือนที่เห็นได้ชัดเจนบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา ได้แก่ "เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน" "หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที" "ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสาร THC หรือ CBD ควรระวังในการรับประทาน"  และ "อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล" ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตต้องมีความปลอดภัย และมีผลวิเคราะห์ยืนยันปริมาณ THC ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ อย. ได้ดำเนินแผนเก็บตัวอย่างเฝ้าระวังคุณภาพและการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่วางจำหน่ายในท้องตลาด และดำเนินคดีกับผู้ผลิตอาหารผิดมาตรฐาน

     รองเลขาธิการ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง และอ่านฉลาก ว่ามีกัญชาเป็นส่วนประกอบหรือไม่ ชื่ออาหารต้องมีคำว่า "กัญชา" หรือ "กัญชง" หรือชื่อส่วนของกัญชาหรือกัญชงที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหาร หรือกำกับชื่ออาหาร ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร และเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการบริโภคและข้อความคำเตือนที่แสดงบนฉลาก

***********************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว   29  มีนาคม  2566   ข่าวแจก 87/ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1678
  
28 มีนาคม 2566ข่าว อย.nullYes3/28/20233/28/20244/5/2023 1:54 PM3/28/2023ข่าวแจก 862566

การตรวจเยี่ยมครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมรอบด้านมากยิ่งขึ้น ร่วมรับฟังปัญหาอุปสรรค แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งนี้ อย. มุ่งมั่นในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฝ้าระวังการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามกฎหมาย

******************************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 28 มีนาคม 2566  ข่าวแจก 86 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1677
  
28 มีนาคม 2566ข่าว อย.nullYes3/28/20233/28/20244/5/2023 9:32 AM3/28/2023ข่าวแจก 85 2566

นายแพทย์ไพศาล  ดั่นคุ้ม  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวภายหลังนำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงแปลงใหญ่ตำบลโคกม่วง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ว่า อย. มุ่งส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน อย.
สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ผู้ผลิตขายผลิตภัณฑ์ได้ ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ และมีศักยภาพแข่งขันในตลาดระดับประเทศและตลาดระดับสากล

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้ให้คำแนะนำด้านคุณภาพมาตรฐานในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง และรับฟังความคิดเห็นจากวิสาหกิจชุมชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานให้เข้าถึงและเกิดประโยชน์แก่วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการมากที่สุด ซึ่ง อย. เชื่อมั่นว่าด้วยความตั้งใจจริงในการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ จะทำให้เศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็ง ส่งต่อให้เศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศมั่นคงแข็งแรงในที่สุด

*******************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว 27 มีนาคม 2566  / ข่าวแจก  85   ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1676
  
27 มีนาคม 2566ข่าว อย.nullYes3/27/20233/27/20244/4/2023 9:44 AM3/27/2023ข่าวแจก 842566

สำหรับการใช้น้ำตาเทียมให้ปลอดภัย ควรใช้ตามคำแนะนำของแต่ละรูปแบบ เช่น น้ำตาเทียมแบบรายวัน ต้องใช้ไม่เกิน 12-24 ชั่วโมง หลังจากเปิด หรือแบบรายเดือน ใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือน หลังจากเปิดแล้ว เป็นต้น และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ โดยวิธีการหยอดน้ำตาเทียมนั้นจะต้องระมัดระวังไม่ให้ปลายหลอดสัมผัสบริเวณดวงตา หรือขนตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อจนดวงตาอักเสบ และ
หากมีน้ำตาเทียมและยาหยอดตาที่ต้องใช้เพิ่มเติม ควรใช้ห่างกันประมาณ 10 นาที ที่สำคัญ หากมีอาการผิดปกติ เช่น เกิดการระคายเคือง มีภาวะตาแห้งมากขึ้น ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาเป็นลำดับถัดไป

หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line @FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

********************************************

วันที่เผยแพร่ข่าว  27  มีนาคม 2566  ข่าวแจก  84 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

1 - 30Next