SharePoint

Skip Navigation LinksList_of_hazmat

​​​​​​​​​​​

บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย


             พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิดตามความจำเป็นแก่การควบคุม

 ได้แก่ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ดูรายละเอียด

ใน การแบ่งชนิดและการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด) และกำหนดให้ประกาศรายชื่อวัตถุ

อันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และเงื่อนไขในการควบคุมไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศ

กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย


             บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เรียกว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อ

วัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ซึ่งบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ(อย.) นั้น  

ถูกจัดอยู่ใน “บัญชี 4” ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ โดยแบ่งเป็น 

              - บัญชี 4.1 เป็นการประกาศตามรายชื่อสารเคมี พร้อมระบุเลขทะเบียนซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของ

วัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม

              - บัญชี 4.2 เป็นการประกาศตามกลุ่มสารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างหรือกลไกการออกฤทธิ์อย่างเดียวกัน 

พร้อมระบุเลขทะเบียนซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของวัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม

              - บัญชี 4.3 เป็นการประกาศตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุประสงค์การนำไปใช้ พร้อมระบุเลขทะเบียน 

 ซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของวัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม 


             การตรวจสอบเบื้องต้นว่าสารเคมีใดหรือผลิตภัณฑ์เคมีใดจะจัดเป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ ให้ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนดังนี้
  • รวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ สารสำคัญ ” ตรงกับ “รายชื่อสารเคมี” และมีวัตถุประสงค์การใช้เป็นไปตามเงื่อนไขใน “ บัญชี 4.1 ” หรือไม่
  • ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ สารสำคัญ ” อยู่ใน “กลุ่มสารเคมี” ละมีวัตถุประสงค์การใช้เป็นไปตามเงื่อนไขใน “ บัญชี 4.2 ” หรือไม่
  • ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ วัตถุประสงค์การใช้ หรือการอ้างสรรพคุณ ” เป็นไปตามวัตถุอันตรายใน “ บัญชี 4.3 ” หรือไม่ 


              สารเคมีใดหรือผลิตภัณฑ์เคมีใดที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน

เรือนหรือทางสาธารณสุขในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์

และวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด ดังนี้ 

             กรณีผลิตภัณฑ์เข้าข่ายเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ต้องแจ้งข้อเท็จจริง กรณีเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และ 3

ต้องขอขึ้นทะเบียน และต้องแจ้งดำเนินการ (สำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2) หรือขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก ตาม

แต่กรณี (สำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3) 

ตรวจสอบรายชื่อวัตถุอันตรายจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่อย.รับผิดชอบ
     บัญชีรายชื่อตามประกาศ 4.1 
     บัญชีรายชื่อตามประกาศ 4.2
     บัญชีรายชื่อตามประกาศ 4.3 


สายด่วน​ตรวจสอบวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

บัญชี​รายชื่อวัตถุอันตราย 61 รายการ ที่ต้องส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ

รายการตัวอย่างส​ารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ solvent เป็นส่วนประกอบจัดเป็นวอ.2​​​

รายชื่อสารสำคัญเป็นภาษาไทยตามที่ได้รับแจ้งข้อเท็จจริง/รับขึ้นทะเบียน/ขออนุญาตผลิตหรืือนำเข้าตัวอย่างกับ อย.แล้ว 


กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาคาร 2 ชั้น 5 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 1100

โทร 0 2590 7310, 0 2590 7301 โทรสาร 0 2591 8483


webmail-link